สัญญาเพิ่มเติม ประกันสุขภาพ และ เงินชดเชยรายได้ จ่ายยังไง?

1093 Views  | 

สัญญาเพิ่มเติม ประกันสุขภาพ

ผู้ ทำประกัน มือใหม่ หรือ ที่ทำมานานแล้ว อาจจะยังเข้าใจผิด เรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาลของ ประกันสุขภาพ และ เงินชดเชยรายได้ (Hospital Benefit)  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทั้ง 2แบบ เป็นสัญญาเพิ่มเติม ที่จำเป็นต้องซื้อพ่วงกับ ประกันชีวิต สำหรับ FWD จะเสนอให้ซื้อทุนหลัก เช่น 200,000บาท สำหรับแบบตลอดชีพ หรือ ตลอดชีพพิเศษ เป็นต้น

เรามาเริ่ม ทำความเข้าใจเรื่องเงินๆ ของการ ทำประกันสุขภาพ ให้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เผื่อเกิดเจ็บป่วยเบาๆ หรือป่วย จนต้องนอนพักรักษาตัวจะได้สบายใจ เรื่องค่ารักษา ไม่ต้องคอยกังวลว่า แบบประกันที่มีจำครอบคลุมไหม ต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่ และ เงินในบัญชีที่มีอยู่ เพียงพอที่จะจ่ายส่วนเกินหรือเปล่า

เงินชดเชยรายได้ (Hospital Benefit)

เงินชดเชยรายได้ เป็นสัญญาเพิ่มเติม ที่ผู้เอาประกันทำไว้ และ จะได้รับเงินจำนวนนี้ เมื่อเจ็บป่วย ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (แอดมิต) ซึ่งประกันจะจ่ายเงินชดเชยเป็นรายวันตามจำนวนวันที่นอนพักรักษาตัว ส่วนจะได้วันละเท่าไร และได้รับชดเชยสูงสูดกี่วัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแบบประกันที่ทำไว้ เหมาะกับคนมีรายได้ประจำ หัวหน้าครอบครัว มนุษย์เงินเดือน เจ้าของกิจการไปจนถึง อาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์ เพราะเจ็บป่วยก็ยังมีเงินชดเชยรายได้มาหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันได้

เงินค่ารักษาผู้ป่วยใน (Hospital & Surgical)

เงินค่ารักษาผู้ป่วยใน คือ วงเงินคุ้มครองค่ารักษาตามแผนประกันที่คุณเลือกไว้ โดยเงินส่วนนี้จะจ่ายค่าห้องโรงพยาบาล ค่าหมอ ค่ายา ค่าอาหาร และค่าผ่าตัดแทนคุณ เมื่อต้องนอนพักรักษาตัว (แอดมิต) ในโรงพยาบาลนั่นเอง

ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ตรวจสอบความคุ้มครองตามกรมธรรม์ของคุณได้ง่ายๆ ด้วยบริการออนไลน์ของบริษัท คลิกที่นี่

เงินค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD

เงินค่ารักษาผู้ป่วยนอก คือ วงเงินคุ้มครองดูแลค่ารักษากรณีที่คุณเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ รวมไปถึงการผ่าตัดเล็กและคุณหมอลงความเห็นว่าไม่ต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาล (ไม่ต้องแอดมิต) ซึ่งมีวงเงินค่ารักษาต่อครั้งตามที่กำหนดไว้ บางแบบประกันอาจมีกำหนดไว้ด้วยว่า สามารถเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้กี่ครั้งต่อปี และมีวงเงินค่ารักษาครั้งละเท่าไหร่ หากคุณใช้สิทธิ์ในวงเงินที่มีและรักษาไม่เกินจำนวนครั้งที่ระบุไว้ก็ไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม เพราะเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอกจะดูแลจ่ายแทนคุณเอง

ทำไมต้องมีการออกค่ารักษาไปก่อน

ในบางกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกเครือข่าย (โรงพยาบาลที่ไม่ได้ทำข้อตกลงกับบริษัทประกันไว้ว่าสามารถทำเรื่องเคลมที่โรงพยาบาลได้เลย) ผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพต้องทำการออกค่าใช้จ่ายไปก่อน จากนั้นจึงค่อยมาทำการยื่นเคลม (ยื่นสินไหม) กับทางบริษัทประกันอีกครั้ง ส่วนจะครอบคลุมค่ารักษาเท่าไรในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแบบประกันสุขภาพนั้นๆ

ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ทำการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ที่คลินิกใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลนอกเครือข่ายแล้วมีการออกค่ารักษาไปก่อน สามารถยื่นเคลมได้ทางออนไลน์เลย ขั้นตอนก็ง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเคลมก็ใช้วิธีถ่ายรูปแล้วอัปโหลดในระบบเลย ไม่ต้องส่งเอกสารตัวจริงมาที่บริษัทฯ อีก ยื่นเสร็จรอรับ SMS แจ้งผลใน 2 วันทำการ (อัปโหลดเอกสารครบถ้วน) สะดวกและรวดเร็วมากๆ ยื่นเคลมออนไลน์ท้งหมด คลิกที่นี่
เงินค่ารักษาแบบเหมาจ่าย

เงินค่ารักษาแบบเหมาจ่าย คือ วงเงินค่ารักษาแบบเหมาๆ ตามแผนประกันที่เลือกไว้สำหรับจ่ายค่ารักษาโดยไม่แยกตามรายการการรักษา (หรือเหมาเฉพาะบางรายการก็มี) เช่น ประกันสุขภาพวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ครอบคลุมค่าห้อง ค่าหมอ ค่าผ่าตัด หากต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ค่ารักษารวมๆ กันแล้วไม่เกิน 1 ล้านบาทประกันก็จะครอบคลุมทั้งหมด ข้อดีของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คือเงื่อนไขน้อยกว่าไม่ว่าป่วยหนักหรือป่วยเบาๆ เงินค่ารักษาแบบเหมาจ่ายก็ช่วยลดภาระให้ ไม่ต้องกังวลเรื่องจ่ายเพิ่มเติมหากค่ารักษายังอยู่ในวงเงินที่คุณมี แต่ค่าเบี้ยประกันก็มักจะสูงกว่าประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษานั่นเอง

เงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์กรณีเสียชีวิต คืออะไร?

เงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์กรณีเสียชีวิต คือ เงินก้อนชดเชยกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตระหว่างที่ได้รับการคุ้มครอง โดยเงินก้อนนี้จะมอบให้กับผู้รับประโยชน์ที่ผู้เอาประกันระบุไว้ หากไม่มีการระบุก็จะส่งมอบเงินผลประโยชน์นี้ให้กับกองมรดกหรือทายาทโดยธรรมต่อไป

เพราะการเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เลือกความหนักเบาของอาการไม่ได้ คาดเดาค่ารักษาไม่ถูก การมีประกันสุขภาพติดตัวจึงเท่ากับเพิ่มเกราะป้องกันให้ตัวเอง ลดความเสี่ยงการขาดสภาพคล่องเพราะรายได้ขาดหาย ช่วยอัปเลเวลความสบายใจในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น เคลียร์ทุกความสงสัยเรื่องเงินๆ ของประกันสุขภาพให้หายเกลี้ยง แล้วปล่อยให้ประกันทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ส่วนเราก็ออกไปใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการได้เลย

ที่มาเนื้อหา : fwd thailand

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy