ประกันสุขภาพแบบใหม่ New health standard คืออะไร

143 Views  | 

new health srandard 2024

ประกันสุขภาพแบบใหม่ New health standard คืออะไร

ประกันสุขภาพแบบใหม่ New health standard เริ่มมาตั้งแต่ 8 พย. 2564 ประกาศใช้โดย สำนักงาน คปภ. เพื่อให้ผู้เอาประกัน มีโอกาสเปรียบเทียบ แผนประกันของแต่ละบริษัท ได้เข้าใจมากขึ้น และเลือกทำ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ให้เหมาะสมกับความต้องการ ได้ไม่ยาก

New health standard เป็นเรื่องที่มีมา 2ปีแล้ว แต่เริ่มยกมาคุยกัน เพราะสังคมติ๊กต๊อก ที่มีตัวแทน และ ประสบการณ์ของคนทำ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ออกมาเล่าเรื่องราวการเคลม จำนวนมาก วันนีัเราอยากมาทบทวน ซึ่งเชื่อว่า ทั้งผู้ทำประกันก่อนปี 2564 หรือ หลังปี 2564 ก็อาจจะยังไม่เคยรู้เรื่องนี้

ประกันสุขภาพ New health standard เริ่มใช้ปี 2564

New health standard คือ มาตรฐาน ประกันสุขภาพแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแผนที่กำหนดค่ารักษา หรือ แบบเหมาจ่ายที่นิยมในปัจจุบัน จริงๆแล้ว คปภ. มีหนังสืออกข้อกำหนดประกันสุขภาพแบบใหม่ อยู่หลายส่วน แต่หลักๆ เราจะให้คนทำประกัน ได้ทำความเข้าใจและเปรียบเทียบ ตารางค่ารักษาแบบใหม่ได้ด้วยตนเอง

ซึ่งตารางค่ารักษา จะกำหนดให้มี 13หมวดหมู่ เหมือนกันทุกบริษัท หากไล่ดูตามหมวด เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า จำนวนวันที่ให้ หรือ เงื่อนไขการรักษา จะให้แตกต่างกัน ซึ่งหากเทียบ อะไรที่เพิ่มมากกว่ากัน นั่นหมายความว่า เราต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ที่แพงกว่าอีกบริษัท

13 หมวดหมู่ ของ New health standard มีอะไรบ้าง?

แน่นอนว่าการกำหนดแบบนี้ เป็นผลดีต่อคนทำประกันมาก เมื่อเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้น จึงทำให้มองเห็นความต่าง และความต้องการแผนประกันที่ตอบโจทก์ได้ แบบที่ไม่ต้องยกเลิก เพราะเสียดายที่เลือกผิด ตั้งแต่แรก

ใน 13หมวดหมู่ มีทั้งการรักษาตัว แบบนอน (IPD) และ ไม่นอน โรงพยาบาล (OPD) รวมไปถึง การรักษามะเร็ง กายภาพ ผ่าตัดเล็ก ที่ไม่นอนโรงพยาบาล สิ่งเหล่านี้ก็รวมอยู่ใน หมวดหมู่มาตรฐานด้วย จำเป็นต้องมี แต่บริษัทไหนจะให้เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับนโยบาย เพื่อกำหนดเบี้ยประกัน เรามาเริ่มกันเลย

หมวดหมู่ ประกันสุขภาพ แบบนอนรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน(IPD)

  • หมวดที่ 1 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการรพ : วัน

  • หมวดที่ 2 ค่าหมอ ค่าพยาบาล ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์

  • หมวดที่ 3 ค่าแพทย์ตรวจรักษา

  • หมวดที่ 4 ค่าผ่าตัด หัตถการ วิสัญญีแพทย์

  • หมวดที่ 5 ค่าผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องนอน รพ. (Day surgery)

หมวดหมู่ ประกันสุขภาพ แบบไม่นอนรักษาตัว ผู้ป่วยนอก(OPD)

  • หมวดที่ 6 ค่าวินิจฉัยก่อน และ หลังแอทมิท 30วัน

  • หมวดที่ 7 อุบัติเหตุภายใน 24ชม.

  • หมวดที่ 8 ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังแอทมิท [สูงสุด30วัน]

  • หมวดที่ 9 ค่าล้างไต ฟอกไต ไตวาย

  • หมวดที่ 10 ค่าบริการทางการแพทย์ ยาพุ่งเป้า ฉายแสง คีโม เวชศาสตร์นิวเคลียร์

  • หมวดที่ 11 ค่าบริการทางการแพทย์ รังสี เคมีบำบัด

  • หมวดที่ 12 รถพยาบาลฉุกเฉิน

  • หมวดที่ 13 ค่าผ่าตัดเล็ก Minor Surgery

ประกันสุขภาพ new health standard ต่างจากแบบเดิมอย่างไร?

1. กำหนด หมวดหมู่ใหม่ พื้นฐาน 13หมวด เหมือนกันทุกบริษัท ทำให้เปรียบเทียบง่ายขึ้น โดยมี IPD ข้อ 1-5 และ การรักษาแบบไม่นอนโรงพยาบาล หมวด 6-13 โดยทุกบริษัท ต้องมีผลประโยชน์ค่ารักษาทั้งหมดนี้ให้ครบ ส่วนบริษัทไหนจะให้กี่วัน หรือ จำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ส่วนผลประโยชน์ที่มีเพิ่มมาให้ จะเรียกว่า สลักหลังเช่น เพิ่มการรักษาด้านจิตเวช เป็นต้น

2. กำหนดคำนิยามใหม่ ดังนี้

  • เปลี่ยนคํานิยาม "โรงพยาบาล"
    หมายถึง สถานพยาบาลใด ๆ ซึ่งจัดให้บริการทางการแพทย์โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือบำบัดรักษาโรคหรือการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนดำเนินการเป็น “โรงพยาบาล” ตามกฎหมายในท้องถิ่นที่ให้บริการ (ตรวจสอบ โรงพยาบาลในเครือFWD ที่นี่)
  • เพิ่มคํานิยาม "ฉ้อฉลประกันภัย"
    หมายถึง การเรียกร้องผลประโยชน์กรมธรรม์ประกันภัยโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง รวมถึงการเจตนาทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยต่างๆ
  • เพิ่มคํานิยาม "เบี้ยประกันภัยในปีต่ออายุ"
    หมายถึง เบี้ยประกันในปีต่ออายุ กรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) หรือ กรณีกรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ (Reinstatement) ตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ โดยเบี้ยประกันภัยปีต่ออายุในกรณีดังกล่าว ไม่มีการนำปัจจัยเกี่ยวกับเงื่อนไขให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) และส่วนลดเบี้ยประกันภัย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเงื่อนไขการต่ออายุ กรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) มาใช้กําหนดเบี้ยประกันภัย
  • เปลี่ยนคํานิยาม "การเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง(Per Confinement)”
    หมายถึง การเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) ในโรงพยาบาลแต่ละครั้ง และให้รวมถึงการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) ในโรงพยาบาล ไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม ด้วยเหตุจากการบาดเจ็บหรือการป่วยเดียวกัน และยังรักษาไม่หาย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย ก็ให้ถือว่าเป็นการเข้าพักรักษาตัวครั้งเดียวกันด้วย
  • เปลี่ยนคํานิยาม "ผ่าตัด"
    ผ่าตัดเล็ก หมายถึง การผ่าตัดระดับผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง หรือชั้นเยื่อบุ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ (Local/Topical Anaesthesia) หรือเฉพาะบริเวณ
    ผ่าตัดใหญ่ หมายถึง การผ่าตัดที่ผ่านผนังหรือช่องโพรงของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบแบบทั่วไป (General Anaesthesia) หรือการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anaesthesia)
    การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) หมายถึง การผ่าตัดใหญ่ หรือการทำหัตถการทดแทนการผ่าตัดใหญ่ หรือการใช้เครื่องมือบำบัดรักษาพิเศษที่สามารถทดแทนการผ่าตัดใหญ่ได้ โดยไม่ต้องมีการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล

ข้อกำหนดทั่วไปของ ประกันสุขภาพ new health standard

เราจะแยกเป็น 3กลุ่มใหญ่ๆ เพื่อจัดหมวดหมู่ ให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ ง่ายๆ ดังนี้

 กลุ่มแรก เกี่ยวกับ การจ่ายผลประโยชน์

  • บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ ภายในกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องแล้ว ในกรณีมีเหตุให้สงสัยว่าการเรียกร้องไม่เป็นไปตามข้อตกลงคุ้มครองในกรมธรรม์ อาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามความจำเป็นไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องแล้ว หากบริษัทไม่อาจจ่ายผลประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาข้างต้น บริษัทจะรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
  • ไม่จ่ายผลประโยชน์ให้กับสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันภัย (Pre-existing Condition) เว้นแต่ผู้เอาประกันได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทรับได้โดยไม่มีข้อยกเว้น หรือ เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ปรากฏอาการมาก่อนทำประกัน 5 ปี และ มีผลบังคับใช้ 3 ปี รวมเป็น 8 ปี

 กลุ่มที่สอง เกี่ยวกับ การต่ออายุประกัน และ เบี้ยที่ปรับขึ้น เมื่อต่ออายุ

  • กรณีครบรอบปีกรมธรรม์ (Renewal) บริษัท จะสงวนสิทธิ์ ไม่ต่ออายุประกันด้วย 3สาเหตุ ดังนี้

  • ารปรับเบี้ยประกัน บริษัทอาจปรับเบี้ย จากปัจจัยต่อไปนี้

*อายุ และ อาชีพ ของผู้เอาประกันภัย

*ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อ หรือ การเคลมโดยรวมที่ผ่านมาของพอร์ตโฟลิโอ(จากคนทำประกันสุขภาพทุกคนรวมกัน)

 กลุ่มที่ 3 ความคุ้มครอง สภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันภัย (Pre-existing Condition)

บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ สำหรับโรคเรื้อรัง การบาดเจ็บหรือการป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) หรือการบาดเจ็บ ที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ เว้นแต่ 2เงื่อนไขหลักนี้ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ให้ ได้แก่

* ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบ และ บริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองโรคดังกล่าว หรือ
* โรคเรื้อรัง(หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็น) ไม่ปรากฏอาการมา 5 ปีก่อนทำประกัน และ หลังทำประกัน 3 ปี

ข้อดี และ ข้อเสียของ ประกันสุขภาพ new health standard

ข้อดีข้อเสีย
1.เปรียบเทียบแต่ละบริษัท ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น1.เบี้ยประกันแพงขึ้น
2.ได้ค่ารักษาโรคร้ายแรงมากขึ้น เช่น ยาพุ่งเป้า การรักษามะเร็งแบบไม่ต้องนอน รพ2.มีโอกาสเพิ่มเบี้ยอีก กรณีที่ พอทโฟลิโอ้มีการเคลมเยอะ
3.ต่อสัญญาได้ต่อเนื่อง ยกเว้น ปกปิดแถลงเท็จ / เคลมเกินความจำเป็น / เคลมชดเชยรายได้เกินรายได้จริง3. ไม่คุ้มครองครอบจักรวาล มีโรคไม่คุ้มครอง หรือ ข้อยกเว้น เช่น ทำเลสิก, ทำฟัน , เอดส์ , ซึมเศร้า เป็นต้
4.ขาดอายุก็ต่อสัญญาได้ แต่ต้องแถลงโรคย้อนหลังใหม่ ขอประวัติใหม่ และ เริ่มต้นระยะเวลารอคอยใหม่4. มีโอกาสถูกปรับเป็น Co-payment ได้ กรณีเคลมโรคกลุ่ม Simple disease เกินเบี้ยประกันที่จ่ายไป

5. สำหรับผู้ทำประกันสุขภาพ FWD ในปี 2567 ในสัญญาไม่มี Co-payment ซึ่งปีหน้าเริ่ม 1 มค 2568 จะมีเข้ามา

 

6.ได้สัญญา สลักหลังเพิ่ม เช่น FWD ประกันสุขภาพเหมาจ่าย 3ล้านขึ้นไป จะค่ารักษาผลแทรกซ้อนก่อนและหลังตั้งครรภ์ด้วย

 

สรุป เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพแบบใหม่ new health standard เริ่มใช้ ปี64

ใครที่ยังไม่แน่ใจว่า จะทำประกันสุขภาพบริษัทไหนดี เท่าไหร่ดีจึงจะพอ ให้สำรวจรายได้-ค่าใช้จ่ายและ แบ่งมาทำประกันไวัสัก 10% อย่ามองว่า ประกันสุขภาพคือค่าใช้จ่าย เพราะหากเก็บเงินไว้ แล้วป่วยเอาเงินเก็บไปรักษา แบบนั้นเรียก "ค่าใช้จ่ายมหาศาล" บางโรคไม่จบแค่ครั้งเดียว บางโรครอคิวนาน ต่อคิวยาวเพียงแค่ CT-Scan

New health standard จะเข้ามาช่วยทั้งผู้ทำประกัน และ บริษัท ให้อยู่ด้วยกันไปได้ยาวๆ มีกฎหมาย เข้ามาดูแลทั้ง 2ฝ่ายอย่างยุติธรรม นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ การถูกปรับเป็น Co-payment ซึ่งเราจะนำมาอธิบายต่อ ในบทความถัดไป

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy